ชาวบ้านได้เฮ!! ใบสั่งจราจรไร้ผล ศาลปกครองชี้ ต่อภาษีรถต้องได้ใบ สั่งอายัดมิชอบด้วยกฎหมาย
สื่อศาลปกครองออกประกาศข่าวสาร
สำนักงานศาลปกครองขอแจ้งกำหนดนัดพิจารณาคดีที่น่าสนใจของศาลปกครอง ระหว่างวันที่
25 - 29 พฤศจิกายน 2567 ดังนี้
วันอังคารที่ 26 พฤศกายน 2547 เวลา 09:00 ศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในคดีหมายเลขดำที่ 2114/2566 ระหว่าง นางสุภา โชติงาม (ผู้ฟ้องคดี) กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมาย กรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) มีประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องกำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 และประกาศสำนักงานดำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563
ซึ่งผู้ฟ้องคดี เห็นว่าประกาศทั้งสองฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีเจตนาไม่สุริตเพื่อให้ไปซึ่งค่าปรับ มิได้มุ่งประสงค์จะสร้างวินัยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนอย่างแท้จริง จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล) ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ. 2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนคำปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2563
โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกประกาศดังกล่าว และยกฟ้องในส่วนที่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เนื่องจากศาลฯ เห็นว่าในการออกประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรฯ ได้กำหนดให้แบบใบสั่งมีข้อความเกี่ยวกับข้อมูลผู้ขับขี่และรถ ฐานความผิดหรือข้อหาและการกระทำอันเป็นเหตุแห่งการ
กล่าวหา ผู้ออกใบสั่งและจำนวนค่าปรับ
โดยกำหนดให้ผู้ขับขี่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่ใด้รับสั่งไปชำระคำปรับภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับใบสั่ง และด้านหลังใบสั่งได้ระบุวิธีการชำระค่าปรับ และคำเดือนการกำหนดแบบใบสั่งโดยระบุข้อความในลักษณะดังกล่าวย่อมทำให้ผู้รับใบสั่งเข้าใจได้ว่าตนเป็นผู้มีความผิดและมีหน้าที่หรืออยู่ในบังคับต้องชำระค่าปรับตามใบสั่งดังกล่าวเท่านั้น โดยไม่อาจโต้แย้งหรือดำเนินการในประการอื่นได้ เห็นได้ว่า ใบสั่งที่มีข้อความในลักษณะดังกล่าวนั้น
หาได้มีการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิหรือมีโอกาสที่จะโต้แย้ง และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการยินยอมให้เปรียบเทียบโดยชอบที่จะทำให้คดีอาญาเลิกกันและยังมีลักษณะเป็นการยืนยันว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีความผิด ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 29 วรรรคสอง ของรัฐรรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาคดังกล่าวจึงเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทีมข่าวสยามชนออนไลน์
#หนังสือพิมพ์สยามชน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น